ยินดีต้อนรับสู่เว็บบล็อกของ นางสาว จิราภรณ์ ฉายปาน ในรายวิชา นวัตกรรมเทนโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา ผู้เข้าชมบล็อกสามารถดูรายละเอียดและเพิ่มเติมเนื้อหาของตัวเองเพื่อการศึกษาได้

วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555




คำอธิบายรายวิชา


ศึกษาแนวคิดทฤษฎี นวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศทางการศึกษา ที่ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ การวิเคราะห์ ปัญหาที่เกิดจากการใช้นวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศ แหล่งเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้ การสร้าง การออกแบบ การนำไปใช้ การประเมินผล การปรับปรุงนวัตกรรม สามารถเลือกใช้ ออกแบบสร้าง ปรับปรุงนวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศสำหรับการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาที่จะรับผิดชอบสอนในอนาคตได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับระดับการศึกษา ทั้งนี้เพื่อให้ผุ้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดี สามารถแสวงหาแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน
วัตถุประสงค์
เมื่อผู้เรียนศึกษาเนื้อหาบทเรียนจบตามหลักสูตรแล้วจะมีพฤติกรรมหรือความสามารถดังนี้
1. อธิบายความหมายของนวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศได้
2. ยกตัวอย่างนวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศที่ใช้ในชีวิตประจำวันได้
3. ชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ของนวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศได้
4. บอกถึงปัญหาที่เกิดจากการใช้นวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศได้
5. บอกความหมายและประเภทแหล่งเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้ได้
6. อธิบายพื้นฐานการออกแบบการเรียนการสอนได้
7. อธิบายรูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญได้
8. ยกตัวอย่างรูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญได้
9. อธิบายวิธีการเลือกใช้สื่อการเรียนการสอนที่เหมาะสมได้
10. เสนอแนวทางในการสร้าง ปรับปรุงนวัตกรรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศสำหรับการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาได้อย่างน้อย 1 รายวิชา
11. สามารถแสวงหาแหล่งการเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้เพื่อสร้างนวัตกรรมได้
12. ยกตัวอย่างงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศได้อย่างน้อย 3 เรื่อง
เนื้อหาบทเรียน
หน่วยการเรียนที่ 1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับนวัตกรรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศ
หน่วยการเรียนที่ 2 หลักการ แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับนวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศ
หน่วยการเรียนที่ 3 การสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน
หน่วยการเรียนที่ 4 จิตวิทยาการเรียนการสอน
หนวยการเรียนที่ 5 การออกแบบการเรียนการสอน
หน่วยการเรียนที่ 6 นวัตกรรมการเรียนการสอน
หน่วยการเรียนที่ 7 คอมพิวเตอร์
หน่วยการเรียนที่ 8 เครือข่ายอินเตอร์เน็ต
หน่วยการเรียนที่ 9 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเรียนการสอน
หน่วยการเรียนที่ 10 แนวโน้มในอนาคตเกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศกับการศึกษาหรือการเรียนการสอน

หลักคุณธรรม จริยธรรม 
               
หลักการอิสลามพื้นฐานประการสุดท้าย คือ หลักการด้านศีลธรรมหรือจริยธรรม หรือ คุณธรรม อันเป็นหลักการที่เกี่ยวข้อง กับมารยาท และคุณทางด้านจิตใจ ตลอดจนความประพฤติอันดีงาม ซึ่งเรียกรวมว่า "อิหฺซาน"

               คุณธรรมอันสูงสุด คือ การที่มนุษย์สำนึกในความเป็นข้าทาสของตนเอง ต่อพระผู้เป็นเจ้า ด้วยใจอันบริสุทธิ์ จิตใจผูกพัน กับพระองค์ตลอดเวลา ท่านศาสดามุหัมมัด (ช.ล.) กล่าวไว้ ความว่า
               "อิหฺซาน คือ การที่ท่านปฏิบัติการนมัสการอัลลอฮฺ ประหนึ่งท่านเห็นพระองค์ แม้ท่านไม่สามารถเห็นพระองค์ แต่พระองค์ ทรงมองเห็นท่าน"
               ความผูกพันระหว่างมนุษย์กับพระผู้เป็นเจ้านั้น จะเป็นสายสัมพันธ์อันแน่นเหนียว ซึ่งก่อให้เกิดความประพฤติที่ดีงาม ทั้งที่กระทำต่อพระผู้เป็นเจ้า และกระทำต่อมนุษย์ สายสัมพันธ์สองด้านนี้ เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดสันติสุข และสันติภาพ ถาวรในโลกนี้
               1. สัมพันธ์กับอัลลอฮฺ   ทำให้มนุษย์มีจิตยำเกรง สำรวมต่อพระองค์
               2. สัมพันธ์กับมนุษย์    ทำให้มนุษย์มีความประพฤติที่ดีต่อกัน หวังดีต่อกัน

               และหากใครขาดสายสัมพันธ์ทั้งสองนี้ คือ หัวเขาไม่สัมพันธ์กับพระเจ้า และ ไม่สัมพันธ์กับเพื่อนมนุษย์ เขาก็ตกต่ำอยู่ในความอัปยศ ปังปรากฏในอัลกุรอาน บทที่ 3 โองการที่ 112  ความว่า
               "พวกเขาจักประสบความตกต่ำ ไม่ว่าพวกเขาจะอยู่ในสถานะใดก็ตาม ยกเว้นโดยเหตุที่พวกเขา มีความสัมพันธ์ต่ออัลลอฮฺ และสัมพันธ์ต่อมนุษย์"
               หลักคุณธรรม แบ่งออกได้เป็น 2 ด้าน

               1. คุณธรรมที่ต้องประพฤติ
               2. คุณลักษณะที่ละเว้น

คุณธรรมที่ต้องประพฤต

               หมายถึงความดีต่างๆ ที่ต้องประพฤติอยู่เสมอ อันได้แก่หน้าที่และมารยาทที่ต้องแสดงออก และคุณสมบัติที่ดีทางจิตใจ เช่น

               1. หน้าที่ของบุคคลต่อพระเจ้า  ต้องระลึกอยู่เสมอว่า ตัวเองอยู่ต่อหน้าพระผู้เป็นเจ้า พระองค์ทรงมองเห็นอยู่ตลอดเวลา จึงต้องทำแต่ความดี มีมารยาท และละเว้นการกระทำที่ผิดต่อบทบัญญัติของพระองค์

               2. หน้าที่ของผู้รู้  ครูและผู้รู้โดยทั่วไป จะต้องสำนึกอยู่เสมอว่า ความรู้ที่ตนได้มานั้น เป็นไปโดยความเมตตาของผู้เป็นเจ้า พระองค์ทรงประทานให้ ดังนั้น จึงต้องเผยแพร่ต่อให้ผู้อื่น ให้ได้รับความรู้ โดยไม่มุ่งหวังอามิสสินจ้างใดๆ ทั้งสิ้น และไม่นำความรู้ ไปสร้างสมบารมี หรือนำความรู้ไปแข่งขันกับใคร หรือทับถมผู้รู้อื่นๆ หรือหาประโยชน์อันมิชอบ

               3. หน้าที่ของผู้ไม่รู้  ผู้ไม่รู้จะต้องศึกษาเพื่อจะได้มีความรู้ ความรู้มิได้จำกัดแต่เฉพาะความรู้ทางด้านสามัญ หรือ ศาสนา ด้านใดด้านหนึ่ง มุสลิมจะต้องเรียนรู้ความรู้ทั้งสองด้าน จนสามารถนำความรู้ความสามารถ ไปประพฤติทางด้านศาสนาอย่างดี และนำความรู้ด้านสามัญหรือวิชาชีพ ไปประกอบสัมมาอาชีพต่อไป และผู้เรียนรู้ทุกคน จะต้องให้ความเคารพต่อผู้สอน มีความนอบน้อมถ่อมตน พูดจาสุภาพ อ่อนโยน และคอยอุปถัมภ์ผู้สอนของตนอยู่เสมอ

               4. หน้าที่ของลูก  ลูกทุกคนมีหน้าที่ต้องระลึกถึงพระคุณอันยิ่งใหญ่ของพ่อแม่ ต้องมีความกตัญญูกตเวทิคุณ ต่อท่านทั้งสอง ต้องคิดอุปการะท่านทั้งสอง ไม่ปล่อยให้ท่านทั้งสองต้องเดียวดาย อยู่กับความเหงา และต้องปรนนิบัติท่านทั้งสอง เป็นอย่างดีที่สุด

               5. หน้าที่ของพ่อแม่  เมื่อพ่อแม่มีลูก ก็ต้องเลี้ยงดูลูกอย่างดี ให้การดูแล ให้ความสุข ให้การศึกษา คอยอบรมบ่มนิสัย ให้เป็นคนดี มีมารยาท ไม่ปล่อยปละละเลยต่อลูก จนขาดความอบอุ่นทางจิตใจ เตลิดออกไปหาความสนุกสนานนอกครอบครัว พ่อแม่ต้องสร้างสถาบันครอบครัว ให้เป็นความหวังของลูก เป็นสวรรค์ของลูก อย่าทำให้เป็นนรกของลูก

               6. หน้าที่ของเพื่อน  คนทุกคนมีเพื่อน ไม่ว่าเพื่อนร่วมงาน เพื่อนร่วมโรงเรียน เพื่อนร่วมหมู่บ้าน จนถึงเพื่อนร่วมโลก ทุกคนต้องหวังดีกัน มีความประพฤติที่ดีต่อกัน ไม่ดูถูก ไม่เกลียด ไม่อาฆาตแค้น ไม่ทับถมหรือทำลายใคร ต่างคิดที่จะอยู่ร่วมกัน อย่างมีความสุข

               7. หน้าที่ของสามี  ทั้งสามี - ภรรยา จะต้องมีหน้าที่พึงปฏิบัติต่อกัน กล่าวคือ สามีต้องรับผิดชอบ ในด้านการปกครองครอบครัว และการหารายได้เลี้ยงดูครอบครัว และสามีจะต้องเป็นที่พึ่งของครอบครัว มีความประพฤติที่ดีงาม ต่อคนในครอบครัว เป็นแบบอย่างที่ดีงามแก่คนในครอบครัวโดยสม่ำเสมอ ไม่ทิ้งครอบครัวออกไปหาความสุขนอกบ้าน และต้องตักเตือนและสอนภริยาและคนในครอบครัว

               8. หน้าที่ของภริยา  ภริยามีหน้าที่ช่วยเหลือสามีในด้านต่างๆ คอยสอดส่องดูแล เป็นกำลังใจให้สามี ให้ความสุขแก่สามี และต้องต้อนรับแขกของสามีด้วยความยิ้มแย้มแจ่มใส และด้วยความจริงใจ ไม่นินทาสามีลับหลัง ไม่บ่นหรือก้าวร้าวสามี หากสามีทำผิด ก็เตือนด้วยความหวังดี และครองสติ ไม่โมโห ให้เกียรติสามี และอยู่ในโอวาทของสามี

               9. หน้าที่ของผู้นำ  ผู้นำทางสังคมในตำแหน่งต่างๆ ที่ถูกแต่งตั้งหรือเลือกตั้งก็ตาม จะต้องปฏิบัติตนต่อผู้ตาม ด้วยความเมตตาและด้วยความนอบน้อม ไม่ถือตัว พูดจาสุภาพอ่อนโยน เมื่อจะใช้อำนาจ ก็ใช้ด้วยความยุติธรรม มีความกล้าหาญ และกล้าตัดสินใจ ไม่ลังเล ไม่อ่อนแอ ไม่ขลาดกลัว ต้องประพฤติดี พร้อมทั้งเป็นตัวอย่างที่ดี สำหรับประชาชน ต้องเสียสละทุกสิ่ง เพื่อประชาชน

             10. หน้าที่ของประชาชน  ประชาชนในฐานะผู้ตาม จะต้องเคารพผู้นำกฎต่างๆ ที่ออกมาโดยชอบธรรม ประชาชนต้องปฏิบัติโดยเคร่งครัด ผู้ตามจะคิดกระด้างกระเดื่องไม่ได้ แต่ก็กล้าหาญที่จะเตือนผู้นำ เมื่อผู้นำทำผิด หรือออกกฎหมายโดยไม่ชอบธรรม ให้ความร่วมมือในกิจกรรมที่ดี รักษาและปกป้องเกียรติยศ ของผู้นำที่มีคุณธรรม ไม่ละเมิดต่อสิทธิของผู้นำ และสิทธิของประชาชนด้วยกัน
 คุณลักษณะที่ต้องละเว้น

               มีคุณลักษณะที่มุสลิมต้องละเว้นอยู่มากมาย ล้วนเป็นข้อห้ามที่อิสลามได้บัญญัติไว้ พอสรุปได้ดังต่อไปนี้

               1. เกี่ยวกับคุณลักษณะด้านร้ายทางจิตใจ ซึ่งเมื่อใครมี หัวใจของเขาก็จะมือดบอด เช่น ความโกรธ ความอิจฉา ริษยา ความเกลียดชัง ความตระหนี่ ความโลภ ความยะโส ความลำพอง ความโอ้อวด เป็นต้น

               2. เกี่ยวกับความประพฤติโดยทั่วไป เช่น ความฟุ่มเฟือย การพูดมาก ความเกียจคร้าน การเอารัดเอาเปรียบ การดูถูกคนอื่น การรังแกผู้อื่น การฉ้อโกง การนินทาใส่ร้าย ส่อเสียด การลักขโมย การปล้น การฉกชิงวิ่งราว การล่วงประเวณี การพนัน การประกอบอาชีพทุกจริต การดื่มสุราและของมึนเมา การกินดอกเบี้ย การเสียดอกเบี้ย เป็นต้น

               3. เกี่ยวกับคุณลักษณะและความประพฤติที่มีผลต่อการศรัทธา ซึ่งข้อห้ามเหล่านี้ มีผลทำให้ผู้ประพฤติหรือมีอยู่ ต้องสิ้นสภาพอิสลามทันที เช่น การนับถือสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺ การกราบสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺ กระทำการอันเป็นการเหยียดหยาม ต่ออัลลอฮฺ ต่อมลาอีกะฮฺ ต่อศาสนทูต ต่อคัมภีร์ ต่อบทบัญญัติทางศาสนา ประวิงการเข้าอิสลามของผู้อื่น ใช้คำพูดกล่าวหามุสลิมว่า มิใช่มุสลิม การเชื่อโชคลาง ของขลัง ปฏิเสธอัลกุรอาน เป็นต้น
 สรุป 
             การเรียนรู้ศาสนาที่แท้จริง ต้องเริ่มจากการทำความเข้าใจกับหลักพื้นฐาน 3 ประการ ดังได้กล่าวมาแล้ว

             ความรู้ที่ถูกต้อง จะนำไปสู่ความศรัทธา ความศรัทธาที่แท้จริง จะนำไปสู่การปฏิบัติ อย่างสม่ำเสมอ จะเพิ่มพูนให้เกิดคุณธรรม จริยธรรม

             นั่นคือ ก่อให้เกิดความสำนึกในคุณธรรม จริยธรรม ต่อพระเจ้า ผู้ทรงสร้างและประทานปัจจัยต่างๆ แก่เรา ความสำนึกในหน้าที่ต่อตนเอง ต่อผู้รู้ ต่อผู้ไม่รู้ ต่อพ่อแม่ ต่อลูก ต่อเพื่อบ้าน ต่อคู่ครอง ต่อผู้นำ ต่อผู้ตาม ต่อผู้ลำบากยากไร้ และต่อประเทศชาติโยส่วนรวม อันจะนำไปสู่ความสันติสุขของสังคม ประเทศชาติ และทั่วโลก ตามความหมายของคำว่า "อิสลาม" ซึ่งหมายถึง ความสันติสุขอันถาวร

ณ ตรงนี้ขอนำเสนอการกระทำบางอย่างที่นำมนุษย์ไปสู่การขัดเกลาตนเองเพื่อยก ระดับจิตใจ อันเป็นผลจากคำสอนของอิมามผู้บริสุทธิ์ และจากกระทำของผู้รู้และนักปราชญ์ทั้งหลายที่ประสบความสำเร็จในหนทางนี้ อาทิเช่นท่านอายะตุลลอฮฺ อาริฟ ชัยค์ฮะซันซอเดะฮฺ ออมูลีย์
๑. ให้ครองวุฎู (น้ำนมาซ) ตลอดเวลา
ท่านดีลัมมีย์ ได้เล่าจากท่านศาสดา(ศ็อลฯ)ว่า พระองค์อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงตรัสความว่า “ใครก็ตามที่ได้ทำให้วุฏูของตนเสีย และไม่ได้ทำวุฎูใหม่ เท่ากับได้ดูถูกฉัน ใครก็ตามตามที่ได้ทำให้วุฏูของตนเสีย และได้ทำวุฎูใหม่ ถ้าเขาไม่ได้ทำนมาซอย่างน้อย ๒ ระกะอัตเท่ากับได้ดูถูกฉัน ใครก็ตามตามที่ได้ทำให้วุฏูของตนเสีย และได้ทำวุฎูใหม่ พร้อมกับทำนมาซ ๒ ระกะอัต แต่ไม่ยอมขอดุอาอฺจากฉัน เท่ากับได้ดูถูกฉัน ใครก็ตามตามที่ได้ทำให้วุฏูของตนเสีย และได้ทำวุฎูใหม่ พร้อมกับทำนมาซ ๒ ระกะอัต ขอดุอาอฺในสิ่งที่ตนปารถนาทั้งโลกนี้และโลกหน้า ถ้าฉันไม่ตอบรับดุอาอฺของเขา ถือว่าฉันดูถูกเขา และฉันพระผู้อภิบาลแห่งสากลโลกไม่ชอบดูถูกบุคคลอื่น” แน่นอนยิ่งโอ้พี่น้องของฉัน แท้จริงวุฎูนั้นเป็นนูรฺ รัศมีการทำให้ตัวเรามีวุฎูอยู่ตลอดเวลา จะทำให้ตัวของเรามีนูรฺรัศมี จิตใจสะอาดผ่องแผ่วเสมอ และเป็นสาเหตุทำให้ใกล้ชิดกับโลกอันบริสุทธิ์แห่งพระผู้เป็นเจ้า และพึงสังวรไว้เถิดว่าการกระทำเช่นนี้ มีบะร่อกัต (ความจำเริญ) และเป็นประสบการณ์ที่ประสบความสำเร็จของบรรดานักปราชญ์ที่ทรงเกียรติทั้งหลาย
ดังนั้นโอ้ผู้ขัดเกลาทั้งหลายสิ่งจำเป็นที่ท่านต้องปฏิบัติคือ
  • ท่านต้องปฏิบัติสิ่งเหล่านี้ให้เป็นนิจศีลท่านจงอดทนสูง
  • ตั้งมั่นและมีขันติธรรมตลอดเวลา
หลังจากนมาซเสร็จเรียบร้อยแล้วจงวิงวอนขอในสิ่งที่คงถาวร และมีความจำเริญทั้งโลกนี้ และโลกหน้าและจงวิงวอนขอต่อพระองค์แต่เพียงผู้เดียว อย่าได้ใฝ่ใจต่อผู้อื่น จงสนทนากับพระองค์ด้วยความรู้สึกที่ออกมาจากก้นบึ้งของหัวใจเช่นพูดว่า “โอ้ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ข้าพระองค์ไม่มีผู้ใดที่สามารถตั้งความหวังกับเขาได้นอกจากพระองค์ โปรดเอื้ออำนวยแก่ปวงบ่าวที่เขายังไม่ได้ลิ้มรสความรักจากพระองค์” เพราะผู้ที่ได้ลิ้มรสในความรักของพระองค์ เขาไม่สามารถเบี่ยงเบนหัวใจไปให้คนอื่นได้ ยิ่งไปกว่านั้นจิตใจของเขาจะไม่ปรารถนาใครอื่นนอกจากพระองค์ ทุกสิ่งคือศูนย์พลังแห่งการเปิดเผยพระนานอันบริสุทธิ์ของพระองค์ ฉะนั้นเมื่อเขาได้เข้าถึงยังแก่นแห่งอาตมันสากลของพระองค์ สิ่งที่เป็นเปลือกภายนอกเขาก็จะได้รับไปโดยปริยาย

เรื่องราวของลัยลากับมัจนูนย่อมสะท้อนภาพของความรักได้เป็นอย่างดี ซึ่งฝ่ายหนึ่งได้เป็นบ้าไป เพราะความรักที่มีต่อลัยลา อันเป็นความรักที่ไม่จีรังและไม่สมหวังแต่มัจนูนก็ได้เป็นบ้าเพระความรัก นั้น เพราะเขาไม่สามารถปันใจไปรักหญิงอื่นได้ ขณะที่ความรักที่มีต่อพระผู้เป็นเจ้าเป็นความรักที่ไม่มีขอบเขตที่สิ้นสุด เป็นความรักที่จีรังถาวรผู้ที่รักพระองค์จึงยอมพลีทุกอย่างเพื่อคนรักของเขา เพียงเพื่อหวังว่า ให้เขานั้น ได้ใกล้ชิดกับคนรักของเขาดุจดังเช่นเหตุการณ์การพลีชีพแห่งกัรฺบะลา เป็นการพลีบนความรักที่มีต่อพระผู้เป็นเจ้าผู้เป็นที่รักของพวกเขา ทำไมเราจึงมักมุ่งมั่นอยู่กับสิ่งที่ไม่ใช่แก่น เป็นเพียงเปลือกและองค์ประกอบภายนอกเท่านั้น จิตใจของมนุษย์ทำไมจึงมุ่งมั่นอยู่กับสรวงสวรรค์ ทุกคนอยากได้สัมผัส อยากได้เข้าไปและพำนักอยู่ในนั้นตลอดไป ทำไมเราจึงไม่ใส่ใจต่อพระผู้สร้างสรวงสวรรค์ผู้เป็นแก่นแท้ของทุกสรรพสิ่ง ดังนั้น เมื่อท่านทำนมาซเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้ทำสัจดะฮฺด้วยจิตใจที่นอบน้อมพร้อมทั้งกล่าวความว่า “โอ้ อัลลอฮฺ โปรดประทานความหวานชื่นในการรำลึกถึงพระองค์ การได้พบกับพระองค์ และความนบนอบต่อพระองค์ แก่ข้าฯเถิด”
๒. หลีกเลี่ยงการรับประทานมาก
อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงตรัส ความว่า “จงกินและจงดื่ม แต่จงอย่าฟุ่มเฟือย แท้จริงพระองค์ไม่ชอบบรรดาผู้ที่ฟุ่มเฟือย” [ซูเราะฮฺ อะอฺรอฟ/ ๓๒]

โอ้ศรัทธาชนทั้งหลายไม่ต้องสงสัยเลยว่า การรับประทานมากเป็นเหตุทำให้หัวใจต้องทำงานหนักผิดปรกติ จิตวิญาณห่อเหี่ยวไม่กระตือรือร้น และน้ำหนักตัวเพิ่มโดยใช่เหตุ แต่พึงรู้ไว้ว่า ความหิวเป็นคุณสมบัติพิเศษสำหรับผู้ศรัทธา (มุอฺมิน)

ท่าน ยะห์ยา บินมุอาซ ได้กล่าวไว้อย่างสวยหรูว่า “หากมอบให้มลาอิกะฮฺทั้งเจ็ดชั้นฟ้าผู้ให้ชะฟาอัต บรรดาศาสดาอีก ๑๒๔,๐๐๐ ท่าน และคัมภีร์ทั้งหมดของพระองค์เป็นสื่อ ในการละทิ้งอารมณ์ใฝ่ต่ำและความศิวิไลซ์ของโลก อีกทั้งนำเสนอกฏเกณฑ์ต่างๆของอัลลอฮฺ เขาก็จะไม่ยอมรับมัน แต่ถ้าใช้ความหิวโหยเป็นสื่อ เขาจะยอมรับอย่างง่ายดายและปฏิบึติตามอย่างเคร่งครัด [กูวะตุลกุลูบ อบูฏอลิบ มักกีย์ พิมพ์ที่อียิปต์ หน้าที่ ๒๑๕]
ท่านอิมา มซอดิก (อ.) กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า “ท้องคนเรา เมื่อรับประทานมากมันจะสร้างความอึดอัดและเหนื่อยหน่าย ซึ่งช่วงเวลาที่ดีที่สุดของปวงบ่าว ในการแสดงความเคารพภักดีคือ ช่วงเวลาที่ท้องของเขาปราศจากอาหาร และช่วงเวลาที่แย่ที่สุดของปวงบ่าว ในการแสดงความเคารพภักดีคือ ช่วงเวลาที่ท้องของเขาเต็มไปด้วยอาหาร”[บิฮารุลอันวาร ๖๖/๓๓๖]
๓. หลีกเลี่ยงการพูดมาก
ท่าน เชคฏูซีย์ ได้เล่าหะดีษบทหนึ่งที่มาจากท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ความว่า “นอกจากการรำลึกถึงอัลลอฮฺ แล้วอย่าพูดมาก เพราะการพูดมากที่ไม่ใช่การรำลึกถึงอัลลอฮฺ เป็นสาเหตุทำให้หัวใจแข็งกระด้าง คนที่มีหัวใจแข็งกระด้างเป็นคนที่ห่างไกลอัลลอฮฺมากที่สุด” [อัล-อะมาลีเข คฏูซีย์ หะดีษที่ ๑]

ท่านเชคกุลัยนีย์ ได้เล่าหะดีษของท่านอิมามซอดิก (อ.) ว่าท่านอิมามได้กล่าวว่า “ท่านศาสดาอีซา (อ.) ได้กล่าวว่า นอกจากการรำลึกถึงอัลลอฮฺแล้วไม่ควรพูดมาก เพราะการพูดมากที่ไม่ใช่การรำลึกถึงอัลลอฮฺ จะทำให้จิตใจแข็งกระด้าง แม้ว่าเขาคนนั้นจะไม่รู้ตัวก็ตาม”[อุศูลกาฟีย์ เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๑๑๔

หลักการอิสลามพื้นฐานประการสุดท้าย คือ หลักการด้านศีลธรรมหรือจริยธรรม หรือ คุณธรรม อันเป็นหลักการที่เกี่ยวข้อง กับมารยาท และคุณทางด้านจิตใจ ตลอดจนความประพฤติอันดีงาม ซึ่งเรียกรวมว่า "อิหฺซาน"
คุณธรรม อันสูงสุด คือ การที่มนุษย์สำนึกในความเป็นข้าทาสของตนเอง ต่อพระผู้เป็นเจ้า ด้วยใจอันบริสุทธิ์ จิตใจผูกพัน กับพระองค์ตลอดเวลา ท่านศาสดามุฮัมมัด (ช็อล ฯ) กล่าวไว้ ความว่า "อิหฺซาน คือ การที่ท่านปฏิบัติการนมัสการอัลลอฮฺ (ซบ.) ประหนึ่งท่านเห็นพระองค์ แม้ท่านไม่สามารถเห็นพระองค์ แต่พระองค์ ทรงมองเห็นท่าน"

ความผูกพัน ระหว่างมนุษย์กับพระผู้เป็นเจ้านั้น จะเป็นสายสัมพันธ์อันแน่นเหนียว ซึ่งก่อให้เกิดความประพฤติที่ดีงาม ทั้งที่กระทำต่อพระผู้เป็นเจ้า และกระทำต่อมนุษย์ สายสัมพันธ์สองด้านนี้ เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดสันติสุข และสันติภาพ ถาวรในโลกน
ี้
  • สัมพันธ์กับอัลลอฮฺ   ทำให้มนุษย์มีจิตยำเกรง สำรวมต่อพระองค์
  • สัมพันธ์กับมนุษย์    ทำให้มนุษย์มีความประพฤติที่ดีต่อกัน หวังดีต่อกัน
และหากใครขาดสายสัมพันธ์ทั้งสองนี้ คือ หัวเขาไม่สัมพันธ์กับพระเจ้า และ ไม่สัมพันธ์กับเพื่อนมนุษย์ เขาก็ตกต่ำอยู่ในความอัปยศ ปังปรากฏในอัลกุรอาน บทที่ 3 โองการที่ 112  ความว่า  พวกเขาจักประสบความตกต่ำ ไม่ว่าพวกเขาจะอยู่ในสถานะใดก็ตาม ยกเว้นโดยเหตุที่พวกเขา มีความสัมพันธ์ต่ออัลลอฮฺ และสัมพันธ์ต่อมนุษย์" 
 หลักคุณธรรม แบ่งออกได้เป็น 2 ด้าน
  • คุณธรรมที่ต้องประพฤติ 
  • คุณลักษณะที่ละเว้น
คุณธรรมที่ต้องประพฤติ
หมายถึงความดีต่างๆ ที่ต้องประพฤติอยู่เสมอ อันได้แก่หน้าที่และมารยาทที่ต้องแสดงออก และคุณสมบัติที่ดีทางจิตใจ เช่น

1. หน้าที่ของบุคคลต่อพระเจ้า  ต้องระลึกอยู่เสมอว่า ตัวเองอยู่ต่อหน้าพระผู้เป็นเจ้า พระองค์ทรงมองเห็นอยู่ตลอดเวลา จึงต้องทำแต่ความดี มีมารยาท และละเว้นการกระทำที่ผิดต่อบทบัญญัติของพระองค์

2. หน้าที่ของผู้รู้  ครูและผู้รู้โดยทั่วไป จะต้องสำนึกอยู่เสมอว่า ความรู้ที่ตนได้มานั้น เป็นไปโดยความเมตตาของผู้เป็นเจ้า พระองค์ทรงประทานให้ ดังนั้น จึงต้องเผยแพร่ต่อให้ผู้อื่น ให้ได้รับความรู้ โดยไม่มุ่งหวังอามิสสินจ้างใดๆ ทั้งสิ้น และไม่นำความรู้ ไปสร้างสมบารมี หรือนำความรู้ไปแข่งขันกับใคร หรือทับถมผู้รู้อื่นๆ หรือหาประโยชน์อันมิชอบ

3. หน้าที่ของผู้ไม่รู้  ผู้ไม่รู้จะต้องศึกษาเพื่อจะได้มีความรู้ ความรู้มิได้จำกัดแต่เฉพาะความรู้ทางด้านสามัญ หรือ ศาสนา ด้านใดด้านหนึ่ง มุสลิมจะต้องเรียนรู้ความรู้ทั้งสองด้าน จนสามารถนำความรู้ความสามารถ ไปประพฤติทางด้านศาสนาอย่างดี และนำความรู้ด้านสามัญหรือวิชาชีพ ไปประกอบสัมมาอาชีพต่อไป และผู้เรียนรู้ทุกคน จะต้องให้ความเคารพต่อผู้สอน มีความนอบน้อมถ่อมตน พูดจาสุภาพ อ่อนโยน และคอยอุปถัมภ์ผู้สอนของตนอยู่เสมอ

4. หน้าที่ของลูก  ลูกทุกคนมีหน้าที่ต้องระลึกถึงพระคุณอันยิ่งใหญ่ของพ่อแม่ ต้องมีความกตัญญูกตเวทิคุณ ต่อท่านทั้งสอง ต้องคิดอุปการะท่านทั้งสอง ไม่ปล่อยให้ท่านทั้งสองต้องเดียวดาย อยู่กับความเหงา และต้องปรนนิบัติท่านทั้งสอง เป็นอย่างดีที่สุด

5. หน้าที่ของพ่อแม่  เมื่อพ่อแม่มีลูก ก็ต้องเลี้ยงดูลูกอย่างดี ให้การดูแล ให้ความสุข ให้การศึกษา คอยอบรมบ่มนิสัย ให้เป็นคนดี มีมารยาท ไม่ปล่อยปละละเลยต่อลูก จนขาดความอบอุ่นทางจิตใจ เตลิดออกไปหาความสนุกสนานนอกครอบครัว พ่อแม่ต้องสร้างสถาบันครอบครัว ให้เป็นความหวังของลูก เป็นสวรรค์ของลูก อย่าทำให้เป็นนรกของลูก

6. หน้าที่ของเพื่อน  คนทุกคนมีเพื่อน ไม่ว่าเพื่อนร่วมงาน เพื่อนร่วมโรงเรียน เพื่อนร่วมหมู่บ้าน จนถึงเพื่อนร่วมโลก ทุกคนต้องหวังดีกัน มีความประพฤติที่ดีต่อกัน ไม่ดูถูก ไม่เกลียด ไม่อาฆาตแค้น ไม่ทับถมหรือทำลายใคร ต่างคิดที่จะอยู่ร่วมกัน อย่างมีความสุข

7. หน้าที่ของสามี  ทั้งสามี - ภรรยา จะต้องมีหน้าที่พึงปฏิบัติต่อกัน กล่าวคือ สามีต้องรับผิดชอบ ในด้านการปกครองครอบครัว และการหารายได้เลี้ยงดูครอบครัว และสามีจะต้องเป็นที่พึ่งของครอบครัว มีความประพฤติที่ดีงาม ต่อคนในครอบครัว เป็นแบบอย่างที่ดีงามแก่คนในครอบครัวโดยสม่ำเสมอ ไม่ทิ้งครอบครัวออกไปหาความสุขนอกบ้าน และต้องตักเตือนและสอนภริยาและคนในครอบครัว

8. หน้าที่ของภริยา  ภริยามีหน้าที่ช่วยเหลือสามีในด้านต่างๆ คอยสอดส่องดูแล เป็นกำลังใจให้สามี ให้ความสุขแก่สามี และต้องต้อนรับแขกของสามีด้วยความยิ้มแย้มแจ่มใส และด้วยความจริงใจ ไม่นินทาสามีลับหลัง ไม่บ่นหรือก้าวร้าวสามี หากสามีทำผิด ก็เตือนด้วยความหวังดี และครองสติ ไม่โมโห ให้เกียรติสามี และอยู่ในโอวาทของสามี

9. หน้าที่ของผู้นำ  ผู้นำทางสังคมในตำแหน่งต่างๆ ที่ถูกแต่งตั้งหรือเลือกตั้งก็ตาม จะต้องปฏิบัติตนต่อผู้ตาม ด้วยความเมตตาและด้วยความนอบน้อม ไม่ถือตัว พูดจาสุภาพอ่อนโยน เมื่อจะใช้อำนาจ ก็ใช้ด้วยความยุติธรรม มีความกล้าหาญ และกล้าตัดสินใจ ไม่ลังเล ไม่อ่อนแอ ไม่ขลาดกลัว ต้องประพฤติดี พร้อมทั้งเป็นตัวอย่างที่ดี สำหรับประชาชน ต้องเสียสละทุกสิ่ง เพื่อประชาชน

10. หน้าที่ของประชาชน  ประชาชนในฐานะผู้ตาม จะต้องเคารพผู้นำกฎต่างๆ ที่ออกมาโดยชอบธรรม ประชาชนต้องปฏิบัติโดยเคร่งครัด ผู้ตามจะคิดกระด้างกระเดื่องไม่ได้ แต่ก็กล้าหาญที่จะเตือนผู้นำ เมื่อผู้นำทำผิด หรือออกกฎหมายโดยไม่ชอบธรรม ให้ความร่วมมือในกิจกรรมที่ดี รักษาและปกป้องเกียรติยศ ของผู้นำที่มีคุณธรรม ไม่ละเมิดต่อสิทธิของผู้นำ และสิทธิของประชาชนด้วยกัน
คุณลักษณะที่ต้องละเว้น
มีคุณลักษณะที่มุสลิมต้องละเว้นอยู่มากมาย ล้วนเป็นข้อห้ามที่อิสลามได้บัญญัติไว้ พอสรุปได้ดังต่อไปนี้

1. เกี่ยวกับคุณลักษณะด้านร้ายทางจิตใจ ซึ่งเมื่อใครมี หัวใจของเขาก็จะมืดบอด เช่น ความโกรธ ความอิจฉา ริษยา ความเกลียดชัง ความตระหนี่ ความโลภ ความยโส ความลำพอง ความโอ้อวด เป็นต้น

2. เกี่ยวกับความประพฤติโดยทั่วไป เช่น ความฟุ่มเฟือย การพูดมาก ความเกียจคร้าน การเอารัดเอาเปรียบ การดูถูกคนอื่น การรังแกผู้อื่น การฉ้อโกง การนินทาใส่ร้าย ส่อเสียด การลักขโมย การปล้น การฉกชิงวิ่งราว การล่วงประเวณี การพนัน การประกอบอาชีพทุกจริต การดื่มสุราและของมึนเมา การกินดอกเบี้ย การเสียดอกเบี้ย เป็นต้น

3. เกี่ยวกับคุณลักษณะและความประพฤติที่มีผลต่อการศรัทธา ซึ่งข้อห้ามเหล่านี้ มีผลทำให้ผู้ประพฤติหรือมีอยู่ ต้องสิ้นสภาพอิสลามทันที เช่น การนับถือสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺ การกราบสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺ กระทำการอันเป็นการเหยียดหยาม ต่ออัลลอฮฺ ต่อมลาอีกะฮฺ ต่อศาสนทูต ต่อคัมภีร์ ต่อบทบัญญัติทางศาสนา ประวิงการเข้าอิสลามของผู้อื่น ใช้คำพูดกล่าวหามุสลิมว่า มิใช่มุสลิม การเชื่อโชคลาง ของขลัง ปฏิเสธอัลกุรอาน เป็นต้น
การเรียนรู้ศาสนาที่แท้จริง ต้องเริ่มจากการทำความเข้าใจกับหลักพื้นฐาน 3 ประการ ดังได้กล่าวมาแล้ว

ความรู้ที่ถูกต้อง จะนำไปสู่ความศรัทธา ความศรัทธาที่แท้จริง จะนำไปสู่การปฏิบัติ อย่างสม่ำเสมอ จะเพิ่มพูนให้เกิดคุณธรรม จริยธรรม นั่นคือ ก่อให้เกิดความสำนึกในคุณธรรม จริยธรรม ต่อพระเจ้า ผู้ทรงสร้างและประทานปัจจัยต่างๆ แก่เรา ความสำนึกในหน้าที่ต่อตนเอง ต่อผู้รู้ ต่อผู้ไม่รู้ ต่อพ่อแม่ ต่อลูก ต่อเพื่อบ้าน ต่อคู่ครอง ต่อผู้นำ ต่อผู้ตาม ต่อผู้ลำบากยากไร้ และต่อประเทศชาติโยส่วนรวม อันจะนำไปสู่ความสันติสุขของสังคม ประเทศชาติ และทั่วโลก ตามความหมายของคำว่า "อิสลาม" ซึ่งหมายถึง ความสันติสุขอันถาวร

วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ประวัติส่วนตัว

ชื่อ-นามสกุล นางสาว จิราภรณ์  ฉายปาน
เกิด วันเสาร์ ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2536  อายุ  18  ปี
ที่อยู่  49 หมู่ 3 ต.ธรรมเสน อ.โพธาราม
จ.ราชบุรี 70120
เบอร์โทร  080-0675866
G-mail jaegun5006@gmail.com
จบมาจาก โรงเรียนราชโบริกานุเคราะห์  จ.ราชบุรี
ปัจจุบันศึกษาที่มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
คณะมนุษยศาสตร์  และสังคมศาสตร์
สาขาวิชา สังคมศึกษา